วันอังคารที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2555


หน่วยการเรียนรู้ที่ 5

การออกแบบการเรียนการสอน
การออกแบบ
   การออกแบบ  หมายถึง การถ่ายทอดรูปแบบจากความคิดออกมาเป็นผลงาน ที่ผู้อื่น สามารถมองเห็น รับรู้ หรือสัมผัสได้  เพื่อให้มีความเข้าใจในผลงานร่วมกัน 
      
  ความสำคัญของการออกแบบ มีอยู่หลายประการ กล่าวคือ 

        1.ในแง่ของการวางแผนการการทำงาน   งานออกแบบจะช่วยให้การทำงานเป็นไปตาม  ขั้นตอน อย่างเหมาะสม และประหยัดเวลา ดังนั้นอาจถือว่าการออกแบบ คือ การวาง    แผนการทำงานก็ได้ 
       2. ในแง่ของการนำเสนอผลงาน ผลงานออกแบบจะช่วยให้ผู้เกี่ยวข้องมีความเข้าใจ   ตรงกันอย่างชัดเจน  ดังนั้น ความสำคัญในด้านนี้ คือ เป็นสื่อความหมายเพื่อความเข้าใจ    ระหว่างกัน 
      3. เป็นสิ่งที่อธิบายรายละเอียดเกี่ยวกับงาน งานบางประเภทอาจมีรายละเอียดมากมาย  ซับซ้อน ผลงานออกแบบจะช่วยให้ผู้เกี่ยวข้อง และผู้พบเห็นมีความเข้าใจที่ชัดเจนขึ้น   หรืออาจกล่าวได้ว่า ผลงานออกแบบ คือ ตัวแทนความคิดของผูออกแบบได้ทั้งหมด 
     4. แบบ จะมีความสำคัญอย่างที่สุด ในกรณีที่ นักออกแบบกับผู้สร้างงานหรือผู้ผลิต   เป็นคนละคนกัน เช่น สถาปนิกกับช่างก่อสร้าง  นักออกแบบกับผู้ผลิตในโรงงาน หรือถ้าจะเปรียบไปแล้ว นักออกแบบก็เหมือนกับคนเขียนบทละครนั่นเอง 

            ประโยชน์ที่ได้จากการออกแบบ 
           1.  ช่วยผ่อนคลายความตึงเครียด

           2.  เพื่อประโยชน์ใช้สอยตามสภาพ

           3.  เพื่อยกระดับให้ชิ้นงานผลิตภัณฑ์ที่ออกแบบมีความหรู และความงามเฉพาะตัว

           4.  เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีระดับและได้มาตรฐานเหมาะสมกับราคา

           5.  เพื่อความสะดวกสบายในการใช้งาน

การออกแบบการเรียนการสอน
      การออกแบบการสอนเป็นวิธีการระบบ   เพื่อการวิเคราะห์, การออกแบบ, การพัฒนา, การดำเนินการให้เป็นผล และการประเมินผลของสารปัจจัย และกิจกรรมการเรียน
          การออกแบบการสอนมุ่งหมายเพื่อวิธีการสอนที่ยึดถือผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง มากกว่าวิธีการที่ยึดถือผู้สอนเป็นศูนย์กลาง  จนกระทั่งการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิผลเกิดขึ้นได้นี่หมายความว่าจะต้องควบคุมกำกับการองค์ประกอบการสอนทุกชนิดด้วยผลลัพธ์ทางการเรียนซึ่งได้รับการวินิจฉัยภายหลังการวิเคราะห์ความต้องการ(ความจำเป็น)ของผู้เรียน อย่างต่อเนื่องสมบูรณ์

ความเป็นมาของการออกแบบการเรียนการสอน
        การออกแบบการเรียนการสอน (ID) เกิดจากการใช้กระบวนการของวิธีระบบ (system approach) ในการฝึกทหารของกองทัพบกอเมริกันในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยมีความเชื่อว่า การเรียนรู้ใด ๆ ไม่ควรจะเกิดอย่างบังเอิญ แต่ควรเกิดจากการพัฒนาสิ่งต่าง ๆ อย่างเหมาะสม มีกระบวนการ มีขั้นตอน และสามารถวัดผลจากการเรียนรู้ได้อย่างชัดเจน
       ในการออกแบบการเรียนการสอนต้องอาศัยความรู้ศาสตร์ สาขาต่าง ๆ อันได้แก่ จิตวิทยาการศึกษา การสื่อความหมาย การศึกษาศาสตร์ทางเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เข้ามาร่วม

การเรียนการสอน
          ในการเรียนการสอน สื่อการสอนมีความสำคัญมาก เนื่องจากสื่อจะเป็นตัวช่วยสอนของครูที่สอนนักเรียน ในปัจจุบันนี้มีสื่อมากมายที่ครูจะนำมาสอนนักเรียนทั้งนี้ ก็ขึ้นอยู่กับความถนัดของแต่ละบุคคลด้วยว่าจะเลือก สื่อแบบไหนมาสอนนักเรียน สื่อการเรียนการสอนมีส่วนช่วยทำให้นักเรียนเรียนรู้ไก้ดียิ่งขึ้น เราะถ้าครูสร้างแรงจูงใจด้วนการใช้สื่อต่างๆช่วยสอน ก็จะทำให้นักเรียนสนใจและอยากเรียนมากขึ้น โดยเฉพาะสื่อมัลติมิเดีย จะทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้ได้เร็วกว่าการอ่านหนังสือ

สื่อการเรียนการสอน
ประเภทของสื่อการเรียนการสอน
 1. สื่อประเภทวัสดุ
 2. สื่อประเภทอุปกรณ์
3. สื่อประเภทเทคนิคหรือวิธีการ
 4. สื่อประเภทคอมพิวเตอร์
  
ปัญหาในระบบการเรียนการสอน
            เป้าหมายหลักของครูหรือนักฝึกอบรมในการสอน คือการช่วยให้ผู้เขียนหรือผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้เรียนรู้ และในการช่วยให้เกิดการเรียนรู้นี้มีปัญหาหลัก ๆ อยู่หลายประการที่ผู้ออกแบบการเรียนการสอนจะต้องตระหนักและพยายามหลีกเลี่ยง ปัญหาดังกล่าวคือ
1. ปัญหาด้านทิศทาง (Direction)
2. ปัญหาด้านการวัดผล (Evaluation)
3. ปัญหาด้านเนื้อหาและการลำดับเนื้อหา (Content and Sequence)
4. ปัญหาด้านวิธีการ (Method)
5. ปัญหาข้อจำกัดต่าง ๆ (Constraint)

ปัญหาด้านทิศทาง
          ปัญหาด้านทิศทางของผู้เรียนก็คือ ผู้เรียนไม่ทราบว่าจะเรียนไปเพื่ออะไร ไม่รู้ว่าจะต้องเรียนอะไร
ต้องสนใจจุดไหน สรุปแล้วพูดไว้ว่าเป็นปัญหาด้านจุดมุ่งหมาย

ปัญหาด้านการวัดผล
           ปัญหาการวัดผลนี้จะเกิดขึ้นกับทั้งผู้สอนและผู้เรียน ผู้สอนจะมีปัญหา เช่น จะรู้ได้อย่างไรว่าผู้เรียนของตนเกิดการเรียนรู้หรือไม่ จะรู้ได้อย่างไรว่าวิธีการที่ตนใช้อยู่นั้นใช้ได้ผลดี ถ้าจะปรับปรุงเนื้อหาที่สอนจะปรับปรุงตรงไหน จะให้คะแนนอย่างยุติธรรมได้อย่างไร
ปัญหาของผู้เรียนเกี่ยวกับการวัดผลอาจเป็น ฉันเรียนรู้อะไรบ้างจากสิ่งนี้ ข้อสอบยากเกินไป ข้อสอบกำกวม อื่น ๆ

เป้าหมายหลักของการจัดระบบการเรียนการสอนมี 2 ประการคือ
                1. เพื่อจัดกระบวนการเรียนการสอนให้ผู้สอนและผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์กัน โดยใช้วิธีการต่างๆ ในการเอื้ออำนวยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดีที่สุด
               2. เพื่อออกแบบระบบการเรียนการสอน โดยใช้วิธีการที่เป็นระบบในการออกแบบ การวางแผน การนำไปใช้ และการประเมินกระบวนการทั้งหมดของระบบการสอนนั้น
              ระบบการเรียนการสอนต้องอาศัยองค์ประกอบหลายส่วนมาร่วมกันทำงานให้เกิดผลลัพธ์ที่ต้องการ อย่างไรก็ตาม
ออกแบบวิธีระบบสำหรับจัดการสอนให้มี 3 ส่วน โดยแต่ละส่วนมีองค์ประกอบย่อยที่ดำเนินงานสัมพันธ์กัน คือ

1) การกำหนดปัญหา ประกอบด้วย เป้าหมายการเรียนการสอน
- ระบุปัญหา                        
 - ระดับทักษะแรกเริ่มของผู้เรียน       
 - การจัดระบบ
2) การ ออกแบบ ประกอบด้วย พัฒนาวัตถุประสงค์
- กำหนดกลยุทธ์                  
- กำหนดสื่อ
3) การพัฒนา ประกอบด้วย เลือกวัตถุประสงค์ที่ต้องการพัฒนา
- วิเคราะห์ผลลัพธ์              
 - ทบทวนอุปกรณ์เครื่องมือ               
  - นำไปใช้

องค์ประกอบของระบบการเรียนการสอนที่มีการดำเนินงานสัมพันธ์กันเพื่อให้การจัดการเรียนการสอนบรรลุวัตถุประสงค์ที่ต้องการได้ดังนี้คือ
1) ความจำเป็นหรือความต้องการในการจัดการเรียนการสอน         8) แผนการจัดการเรียนการสอน
2) ผู้เรียน                                                                                                     9) เวลาเรียน
3) สภาพแวดล้อม                                                                                     10) วิธีการเรียนหรือกิจกรรมการเรียน
4) ผู้สอน                                                                                                    11) ทรัพยากรในการเรียนการสอน
5) จุดมุ่งหมาย                                                                                           12) การควบคุม ตรวจสอบและประเมินผล
6) วิธีการสอน                                                                                          13) ข้อมูลย้อนกลับ
7) เนื้อหา

หลักการต่าง ๆ เหล่านี้จะช่วยให้เด็กสามารถนิรมิต (Construc)  ความรู้ใหม่  (สำหรับตัวเขา) ขึ้นได้

        ทฤษฎีการสร้างความรู้นิยม (Constructivism) เป็นทฤษฎีที่เน้นบทบาทของความรู้พื้นฐานและความเข้าใจในปัจจุบันของผู้เรียนในการเรียนรู้  เน้นความสำคัญของความเข้าใจปัจจุบัน  และเห็นว่าการเรียนรู้ใหม่เกิดจากการแปลความหรือตีความจากความเข้าใจภายใต้สถานการณ์ปัจจุบัน

        สรุปได้ว่า ทฤษฎี Constructivismเป็นทฤษฎีที่ผู้เรียนจะต้องจัดกระทำข้อมูลและเป็นกระบวนการเรียนรู้ที่เป็นการปฏิสัมพันธ์ภายในสมองและยังเป็นกระบวนการทางสังคมอีกด้วย  ซึ่งในงานวิจัยนี้เรียกว่าทฤษฎีสร้างความรู้นิยม
หลักการที่สำคัญในการเรียนรู้ผู้เรียนจะต้องเป็นผู้กระทำ และสร้างความรู้ ความเชื่อพื้นฐานของทฤษฎีสร้างความรู้นิยม มีรากฐานมาจาก 2 แหล่ง คือ ทฤษฎีการสร้างความรู้มีรากฐานมาจากทฤษฎีการสร้างเชาว์ปัญญาของ Piajet และ  Vygotskyซึ่งอธิบายว่า  โครงสร้างทางสติปัญญา ของบุคคลมีการพัฒนาผ่านทางกระบวนการดูดซับหรือซึมซับ  (Assimilation)และกระบวนการปรับโครงสร้างทางสติปัญญา เพื่อให้บุคคลอยู่ในภาวะสมดุลซึ่ง Piajetเชื่อว่าทุกคลจะมีพัฒนาการตามลำดับขั้นจากการมีปฏิสัมพันธ์และประสบการณ์กับสิ่งแวดล้อมและสังคม    ส่วน Vygotskyให้ความสำคัญกับวัฒนธรรม  สังคม  และภาษามากขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับ สุรางค์  (2544) ได้กล่าวว่า พื้นฐานของทฤษฎีสร้างความรู้นิยม มีรากฐานมาจาก 2 แห่ง คือ ทฤษฎีพัฒนาการของ Piajetและ Vygotskyคือ

        ทฤษฎีสร้างความรู้นิยมเชิงปัญญา (Cognitive Constructivism) หมายถึงฐานรากมาจากทฤษฎีพัฒนาการของ Piajetทฤษฎีนี้ถือว่าผู้เรียนเป็นผู้กระทำ  และเป็นผู้สร้างความรู้ขึ้นในใจเอง ปฏิสัมพันธ์ทางสังคมมีบทบาทในการก่อให้เกิดความไม่สมดุลย์ทางพุทธิปัญญาขึ้นเป็นเหตุให้ผู้เรียนปรับความเข้าใจเดิมที่มีอยู่ให้เข้ากับข้อมูลข่าวสารใหม่จนกระทั่งเกิดความสมดุยล์ทางพุทธิปัญญา หรือเกิดความรู้ใหม่ขึ้น
      
       ทฤษฎีสร้างความรู้นิยมเชิงสังคม (Social Constructivism)   เป็นทฤษฎีที่มีพื้นฐานมาจากทฤษฎีพัฒนาการของ Vygotskyซึ่งถือว่าผู้เรียนสร้างความรู้ด้วยการมีปฎิสัมพันธ์ทางสังคมกับผู้อื่น (ผู้ใหญ่หรือเพื่อน)
สรุปได้ว่า  Piajet  เน้นการเรียนรู้เกิดจากปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมและให้ความสำคัญกับความรู้เดิม  ในขณะที่แนวคิดของ Vygotsky  เน้นการเรียนรู้ว่าเกิดจากปฏิสัมพันธ์ทางสังคม

ทฤษฎีการออกแบบระบบการเรียนการสอน พอสรุปได้ดังนี้
       1.  การวิเคราะห์ (Analysis)ในประเด็นต่าง ๆ
       2. การออกแบบ (Design) คือ การออกแบบในส่วนของ วัตถุประสงค์การสอนแต่ละบทหรือแต่ละสัปดาห์
        3.การพัฒนา (Development) กระบวนการพัฒนา ได้แก่ การนำสิ่งที่คิดหรือออกแบบไว้มาใช้
        4.การนำไปใช้ (Implementation) คือ ขั้นตอนการนำแผนการสอนที่ได้วิเคราะห์ ออกแบบ และพัฒนาไว้ไปใช้สอนจริง

การใช้ระบบอีเลิร์นนิ่งในการจัดการการเรียนการสอน
อีเลิร์นนิ่งมีจุดเด่นที่สามารถเรียนได้ anywhere anytime นั้น ทำให้นึกถึงคนที่ทำงานไม่เป็นเวลาปกติเหมือนนักเรียนประถม มัธยาตามโรงเรียนทั่วไป ที่ต้องไปโรงเรียนตามวันและเวลาที่กำหนด อาชีพที่ต้องมีการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ตลอดเวลาและยังทำงานไม่เป็นเวลา จัดไม่ได้เหมือนเข้ากะ และสามารถโดนเรียกตัวได้ยิ่งกว่าอาชีพแพทย์ คือ ทัวร์ไกด์ทั้งนำคนไทยเที่ยวไทย คนไทยเที่ยวต่างประเทศ และชาวต่างชาติเที่ยวไทย ททท หรือการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยได้เปิดอบรมร่วมกับสถาบันการศึกษาต่างๆ ตลอดทั้งปี มีทั้งเรียนเสาร์และอาทิตย์ และเรียนช่วงเย็น การสอนและการสอบมีทั้งข้อเขียน แล็ปกริ๊ง การนำเที่ยวจริงบนรถทัวร์พร้อมอาจารย์ และการสอบภาษาอังกฤษ เมื่อออกไปประกอยอาชีพจริงก็ต้องมีการหาข้อมูลใหม่อยู่เสมอ


ปัญหาการจัดการเรียนการสอนแบบอีเลิร์นนิ่งและแนวทางแก้ไขเบื้องต้น
1. การใช้อีเลิร์นนิงในการสอนภาคปฏิบัติ
           อีเลิร์นนิงคงไม่สามารถช่วยการเรียนการสอนด้านทักษะปฏิบัติได้ คงต้องเรียนจากการปฏิบัติจริง แต่อีเลิร์นนิงจะช่วยเตรียมความรู้ ความเข้าใจผู้เรียนให้พร้อม เมื่อเข้าเรียนภาคปฏิบัติจะทำให้เรียนได้เร็วขึ้น อีกอย่างที่มีการใช้อีเลิร์นนิง
ช่วยได้ดี คือ ในเรียนด้านทักษะที่ต้นทุนการฝึกปฏิบัติสูง หรือ อันตราย หรือจะต้องฝึกกับสัตว์ทดลอง เหล่าจะมี
บทเรียนอีเลิร์นนิงแบบสถานการณ์จำลอง (Simulation) ช่วยเตรียมผู้เรียนให้พร้อมก่อนฝึกปฏิบัติจริง ลดค่าใช้จ่ายและลดอันตรายจากการปฏิบัติจริง
2. มีปัญหาในขั้นตอนการพัฒนา เพราะไม่มีความรู้เกี่ยวกับวิธีการสร้างเว็บไซต์ ตรวจสอบ เช็คเวลารักษาความปลอดภัย ไม่มีความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาบทเรียน

3. ประเมินได้อย่างไรว่าเป็นผู้เรียนจริง
            ปัจจุบันนี้ยังใช้หลายวิธีการร่วมด้วย เช่น การจัดให้มีการพบเพื่อปฐมนิเทศ การจัดสอบ ในสถานที่มีผู้คุมสอบ เพื่อจะได้สามารถตรวจสอบว่าเป็นบุคคลชื่อนั้นจริงๆเป็นผู้สอบก็ถือว่ามีความรู้ (ใช้ในหลักสูตรปริญญา) ส่วนในหลักสูตรที่ไม่ได้มีการพบหน้ากัน ก็จะปรับรูปแบบเป็นใช้กิจกรรมการเรียนเป็นส่วนที่จะให้คะแนนมากกว่าการสอบ ทำให้ผู้เรียนต้องมีส่วนร่วมในการเรียนตลอด ขณะเดียวกันในกระบวนการเรียน ก็จะให้ผู้เรียนตอบคำถาม หรือ ทำกิจกรรม โดยใช้พื้นฐานความรู้ สถานที่ทำงาน บริบทของตัวเอง เพื่อช่วยยืนยันได้อีกทางหนึ่ง (รวมทั้งเป็นหลักการที่จะทำให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ โดยใช้ประสบการณ์ตัวเองและได้คำแนะนำไปใช้ปฏิบัติได้ในสถานการณ์ตัวเอง )
        ครูจำนวนไม่น้อยที่ชอบคิดว่าพฤติกรรมการมีส่วนร่วมอย่างจริงจังนี้เป็นหน้าที่ของผู้เรียนโดยตรง เพราะครูมีหน้าที่สอนเท่านั้น เข้าทำนองที่ว่า นี่คือเรื่องของเธอ” “เรื่องของฉันคือสอน เรื่องของเธอคือเรียนแท้ที่จริงแล้ว ส่วนหนึ่งของการสอนก็คือการทำให้นักเรียนมีส่วนร่วมอย่างจริงจังนั่นเอง

คุณค่าของสื่อการเรียนการสอนการเรียนการสอน
1.สื่อการเรียนการสอนสามารถเอาชนะข้อจำกัดเรื่องความแตกต่างกันของประสบการณ์ดั้งเดิมของผู้เรียน คือเมื่อใช้สื่อการเรียนการสอนแล้วจะช่วยให้เด็กซึ่งมีประสบการณ์เดิมต่างกันเข้าใจได้ใกล้เคียงกัน
 2.ขจัดปัญหาเกี่ยวกับเรื่องสถานที่ ประสบการณ์ตรงบางอย่าง หรือการเรียนรู้
3.ทำให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรงจากสิ่งแวดล้อมและสังคม 4.สื่อการเรียนการสอนทำให้เด็กมีความคิดรวบยอดเป็นอย่างเดียวกัน
5.ทำให้เด็กมีมโนภาพเริ่มแรกอย่างถูกต้องและสมบูรณ์
6.ทำให้เด็กมีความสนใจและต้องการเรียนในเรื่องต่าง ๆ มากขึ้น เช่นการอ่าน ความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ ทัศนคติ การแก้ปัญหา ฯลฯ
7.เป็นการสร้างแรงจูงใจและเร้าความสนใจ
8.ช่วยให้ผู้เรียนได้มีประสบการณ์จากรูปธรรมสู่นามธรรม
ลำดับขั้นของการเรียนรู้
ในกระบวนการเรียนรู้ของคนเรานั้น จะประกอบด้วยลำดับขั้นตอนพื้นฐานที่สำคัญ 3 ขั้นตอนด้วยกัน คือ
 (1) ประสบการณ์    (2) ความเข้าใจ    (3) ความนึกคิด
หลักสูตร  เป็นพิมพ์เขียวเพื่อการเรียนรู้ที่เกิดจากการกำหนดมาตรฐานของเนื้อหาและมาตรฐานความสามารถของผู้เรียน เพื่อนำไปสู่การพัฒนาแผนการเรียนการสอนที่ได้ผล
การประเมินผล   หมายถึงกระบวนการเพื่อการตัดสินว่าได้บรรลุเป้าหมายของหลักสูตรหรือไม่ ด้วยวิธีการประเมินที่หลากหลายทั้งการสังเกต การพูดคุย การลงมือปฏิบัติ จนถึงการทดสอบ
                                เป้าหมายการเรียนรู้ หมายถึง ข้อกำหนดว่านักเรียนควรทำอะไรได้          ในระดับใด จึงผ่านเกณฑ์การประเมินว่าได้เกิดความเข้าใจ มาตรฐานเนื้อหาจะ            กำหนดว่าควรสอนให้ครอบคลุมเนื้อหาสาระใดบ้าง แต่มาตรฐานความรู้ความสามารถจะกำหนดว่าผู้เรียนจะทำอะไรได้ และต้องทำดีในระดับใดจึงถือว่าผ่านเกณฑ์

การออกแบบแบบย้อนกลับ  Backward Design
                                ครูทุกคนเป็นนักออกแบบ ภารกิจหลักในวิชาชีพครู คือ การออกแบบหลักสูตร ประสบการณ์การเรียนรู้ เพื่อไปสู่เป้าหมายที่กำหนดไว้ ออกแบบเครื่องมือประเมินความต้องการ และเครื่องมือประเมินผลว่าได้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้หรือไม่
โดยสรุปการออกแบบแบบย้อนกลับจะมี ๓ ขั้นตอนดังนี้
                                ขั้นตอนที่ ๑          การกำหนดเป้าหมายที่พึงประสงค์
                                ขั้นตอนที่ ๒         การกำหนดหลักฐานที่แสดงว่าผู้เรียนได้บรรลุเป้าหมาย ที่พึงประสงค์
                                ขั้นตอนที่ ๓         การวางแผนประสบการณ์การเรียนรู้และการสอน

                โดยปกตินักเรียนจะชอบเรียนกับครูที่มีบุคลิกภาพดี เพราะชอบที่จะอยู่ใกล้ ๆ และเมื่อมีความชอบในตัวครูแล้ว ก็อาจนำไปสู่การมีความอดทน และความพยายามที่จะเรียนรู้วิชาที่ครูสอนด้วย แต่ในทางตรงกันข้ามหากนักเรียนไม่ชอบบุคลิกภาพของครูเสียแล้ว ก็ย่อมไม่อยากอยู่ใกล้ ๆ ไม่อยากได้ยินเสียง และไม่อดทนไม่พยายามที่จะเรียนรู้ในสิ่งที่ครูสอนไปด้วย แม้จะเป็นนิสิตนักศึกษาในระดับอุดมศึกษาก็เป็นเช่นนี้ เพราะเขายังไม่มีวุฒิภาวะทางอารมณ์มากพอที่จะอดทน เพื่อการเรียนรู้กับครูที่น่ากลัวหรือน่ารำคาญได้